中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

ย้อนไทม์ไลน์กว่าจะเป็น ธงไตรรงค์ และ ธงชาติไทย มนุษย์เริ่มใช้ธงครั้งแรกเมื่อไร และทราบหรือไม่ว่าธงนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของชาติต่างๆ แล้วก็ยังทำหน้าที่ต่อสู้ในเวทีการเมืองต่างๆ ด้วย Sarakadee Lite ชวนไปค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ใน ธง

回顧三色旗和泰國國旗的來歷,你知道人類首次使用國旗是什麼時候嗎?你知道國旗除了作為各個國家的標誌之外還有其他的政治意義嗎?今天我們就帶著疑惑一起去了解國旗的意義吧!

中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

01

ธงในอารยธรรมโบราณ

古代文明使用的旗幟

ธงเป็นสิ่งที่มีมาแต่อารยธรรมโบราณ ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานว่าดินแดนใดกันแน่ที่เป็นผู้เริ่มต้นใช้ธง จากการศึกษาทั้งจากอียิปต์ โรมัน อินเดีย จีน เมื่อพันปีก่อน พบว่าเคยมีการตั้งเสาสูงประดับเครื่องหมายต่างๆ แทนเทพเจ้าไว้ด้านบน เป็นทั้งสัญลักษณ์ของอำนาจและตัวแทนของราชา ต่อมาเริ่มมีการนำผ้ามาผูกติดไว้กับเสาสูงจนทำให้เกิด ธง ซึ่งสันนิษฐานว่า จีนเป็นชาติแรกๆในโลกที่ประดิษฐ์ธงเพราะมีเทคโนโลยีด้านการทอผ้ามาแต่โบราณ และการประดับธงในสถานที่และโอกาสต่างๆ ของจีนน่าจะกลายเป็นต้นแบบให้แก่วัฒนธรรมการใช้ธงในวัฒนธรรมอื่นๆ

旗幟在古代文明就已經存在,儘管沒有證據表明國旗的發源地究竟在哪裡。透過對古埃及文明、古羅馬文明、古印度文明和中國文明的研究發現,千年之前就已經開始透過立一根帶有各種符號的旗杆來表示天神,同時也是權力和君主的象徵。之後又將布綁在旗杆上面,於是就產生了旗。據推測,中國是世界上最早發明旗幟的國家,因為中國在古代就出現了紡織技術。因此,中國對國旗在不同場地和場合的佈置方法就成為了其他國家地區借鑑的榜樣。

สำหรับในไทยนั้น ธง เคยปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย แต่เป็นธงที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ถัดมาในสมัยอยุธยาปรากฏ “ธงแดง” เป็นธงเรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขาย ก่อนจะถูกนำมาพัฒนาการสู่ธงแดงรูปจักร ธงช้างเผือก จนถึงธงไตรรงค์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

泰國對旗幟的記載曾在素可泰碑文裡出現過,但是用於佛教的旗幟。接著在阿育陀耶時期出現了“紅旗”,一種用於貿易交往的帆船旗幟,在被髮展成環刃旗、白象旗以及沿用至今的三色旗之前,“紅旗”就是貿易船上代表暹羅身份的旗幟。

02

เริ่มต้นการใช้ ธงแดง ในสยาม

暹羅使用“紅旗”的開端

ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีการใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายจากกรุงสยาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มมีการใช้สัญลักษณ์ช้างเผือกบนธงเพื่อแสดงว่านี่คือเรือสินค้าของรัฐบาลสยาม โดยต้นเรื่องเกิดมาจากการที่สยามส่งเรือสำเภาของหลวงไปซื้อสินค้าที่เกาะสิงคโปร์ โดยชักธงแดงขึ้นตามประเพณีที่เคยมีมา ปรากฏว่าเจ้าเมืองสิงคโปร์แจ้งว่า เรือสินค้าของชวาก็ชักธงแดงเหมือนกัน จึงอยากขอให้มี “สัญลักษณ์” พิเศษบางอย่างเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเรือของรัฐบาลสยาม

從阿育陀耶時期暹羅就已開始在貿易交往中使用“紅旗”來表明其身份,之後在拉瑪二世時期開始把白象旗作為王室船隻專用旗。其中的故事源於暹羅派船隻去新加坡採購商品,並按慣例升的“紅旗”,後從新加坡那裡得知爪哇的商船也掛的紅旗,因此暹羅想透過標誌性的物品來表明暹羅王室船隻的身份。

บังเอิญว่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[M1] มีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารหลายเชือก ถือเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่สำคัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเผือกอยู่กลางวงจักรสีขาว ลงไปบนธงพื้นแดง เพื่อประกาศว่าเรือลำนี้เป็นของ “พระเจ้าช้างเผือก” แห่งกรุงสยาม แต่ธงแบบนี้ก็ใช้ชักขึ้นเสาเรือสินค้าของหลวงที่ไปค้าขายยังต่างประเทศเท่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงเรือค้าขายได้เปลี่ยนรูปแบบ ถอดรูปวงจักรซึ่งถือเป็นของสูงในฐานะเครื่องราชูปโภค[M2] ออกจากจากธง เหลือเพียงพื้นสีแดงและรูปช้างเผือกอยู่กลางผืนธง และเรีกว่า ธงช้างเผือก

很巧的是,拉瑪二世時期國王得到了幾頭白象,作為至高無上的榮耀,於是就下令將白象的圖案加到了紅旗上環刃圖案的中間,以此來表明身份是來自暹羅“白象之王”的船隊,但這種旗幟只能是泰國皇室的商船在進行國際貿易時使用。之後在拉瑪四世時期,又把作為皇室器具的環刃從旗子中移除了,僅剩紅色的旗面和旗子中間的白象,並且把旗子重新命名為白象旗。

[M1]พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย:拉瑪二世

[M2]เครื่องราชูปโภค:皇室用品

中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

03

ธงชาติผืนแรก ของ สยามประเทศ

暹羅國的第一面國旗

ประเทศไทยเริ่มมี “ธงประจำชาติ” ในสมัยรัชกาล 4 ซึ่งตรงกับยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก และประเทศต่างๆ ในเอเชียก็เริ่มมีการใช้ “ธงประจำชาติ” เป็นสัญลักษณ์เหมือนประเทศในแถบตะวันตก และ “ธงช้างเผือก” ก็ได้กลายเป็น “ธงชาติสยาม” และได้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกใน พ。ศ。2400 พร้อมการปรากฏตัวของคณะราชทูตสยามชุดที่มีหม่อมราโชทัยเป็นล่าม เดินทางไปเฝ้าควีนวิคตอเรีย[M1]  ที่อังกฤษ ต่อมาในปี พ。ศ。 2410 ธงช้างเผือก ได้ถูกนำไปประดับในโรงนิทรรศการของสยาม ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนานาชาติ[M2]  ที่ประเทศฝรั่งเศส

泰國是從拉瑪四世時期開始使用國旗的,當時也剛好處於西方殖民時期,那時亞洲的很多國家也開始像西方那樣使用國旗作為國家的象徵,而且暹羅的“白象旗”也被改名為“暹羅國旗”,並於1857年隨由MomRachotai擔任翻譯的暹羅外交使團前往英國拜訪維多利亞女王時,首次出現在世界人民的視線裡。在接下來1867年的法國巴黎世博會上,白象旗就被放置在暹羅館中展覽。

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินวิเทโศบาย ทางการเมืองระหว่างประเทศจนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่สยามประเทศ เป็นที่มาของ “วันตราดรำลึก” ซึ่งตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยชาวตราดจะปัก[M4]  “ธงช้างเผือก” เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วย

拉瑪五世時期暹羅與法國開展外交工作,最終法國簽訂條約,將達叻府(桐艾府)歸還給暹羅,這也是每年3月23日達叻紀念日的由來,達叻府的人民通常會插上白象旗來紀念那次偉大的迴歸。

[M1]ควีนวิคตอเรีย  維多利亞女王

[M2]ควีนวิคตอเรีย 世界博覽會

[M3]วิเทโศบาย 外交政策

[M4]ปัก 粘

中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

04

ทำไมต้องใช้ ธงไตรรงค์

為何使用三色旗

วันที่ 28 กันยายน พ。ศ。 2460 ประเทศไทยออกประกาศพระราชบัญญัติธง พ。ศ。 2460 แก้ไขลักษณะธงชาติจาก “ธงช้างเผือก” เป็น “ธงไตรรงค์” และกำหนดให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ ครั้งนั้นรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบธงชาติจากธงที่มีรูปช้างเผือกอยู่บนผืนธง มาเป็นรูปแบบธงสีแดง ขาว และน้ำเงิน ซึ่งเหตุผลหนึ่งคืออิงต้นแบบมาจากตะวันตก อาทิ ธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ และธงดาวและริ้ว[M1] ขาวน้ำเงินแดงของสหรัฐอเมริกา อีกเหตุผลเพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎรที่ต้องสั่งซื้อผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ ตอนเย็บบางครั้งก็ติดธงผิดเอาขาช้างชี้ขึ้น

1917年9月28日泰國頒佈國旗法,將“白象旗”改為“三色旗”,並將三色旗定為國旗。當時拉瑪六世下令改變國旗的樣式,由以前的白象旗改為由紅、白、藍三色組成的三色旗。至於改國旗的原因,一方面是借鑑西方國家,例如法國的三色旗、英國米字旗、美國星條旗。另一方面是因為製作國旗中的人為過失,由於暹羅人需要從國外採購印有白象的國旗布料,所以在縫製的時候偶爾會將白象的圖案弄反,做成了四腳朝天的白象。

ในสมัย รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบธงชาติ จาก “ธงไตรรงค์” กลับมาเป็น “ธงช้าง” เพราะธงไตรรงค์ยังไม่เป็นที่รู้จักของต่างประเทศและสียังคล้ายคลึงกับธงชาติบางประเทศ ขณะที่ธงช้าง ไม่ซ้ำกับธงชาติใดเลย พระองค์ได้ขอความคิดเห็นจากองคมนตรี แต่คณะองคมนตรีมีความเห็นยืนยันที่จะใช้ธงไตรรงค์ตามเดิม ธงไตรรงค์จึงกลายเป็นธงชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน

拉瑪七世時期,國王欲將“三色旗“改為之前的“象旗”,因為當時國際上還不熟知泰國的三色旗,而且三色旗的顏色又與有些國家的相似,反而是象旗沒有與任何國家的國旗重複。拉瑪七世詢問了內閣成員的意見,但內閣堅持認為使用三色旗更合適,三色旗便因此成為泰國國旗,並一直沿用至今。

[M1]ริ้ว 帶子、條狀物

中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

05

ธงชาติและการสร้างชาติ

泰國國旗和建國

สำหรับความหมายของ ธงชาติไทย ที่เปลี่ยนมาเป็น ธงไตรรงค์ นั้น สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และ สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์ สะท้อนถึง 3 ศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ด้านการเคารพธงชาติวันละ 2 เวลา (ชักธงขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 8。00 น。 เชิญธงลงเวลา 18。00 น。) เริ่มต้นสมัย จอมพล ป。 พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และก็ได้ซบเซา[M1] ขาดหายไป

關於泰國國旗的意義,紅色代表國家和人民的團結,白色代表宗教,藍色代表國王,體現了彙集泰國人民心靈的三個中心。並且泰國每天有兩個時間點向國旗致敬(即早上8點升旗,下午6點降旗),這個傳統從鑾披汶擔任泰國總理開始,但後來也逐漸被人們淡忘。

กระทั่งรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ。ศ。 2519) ได้รื้อฟื้น[M2] การเคารพธงชาติวันละ 2 เวลาให้กลับมาอีกครั้ง ทั้งยังได้ประกาศเชิญชวนข้าราชการหยุดยืนตรงเคารพธงชาติเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชาชนทั่วไป โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 2) พ。ศ。2519 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ。ศ。 2519 ต่อมาประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการเทียบเวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเคารพธงชาติ

直到他寧·蓋威欽執政時(泰國1976年“10·6“政變之後)又恢復了每天兩次致敬國旗的傳統,而且還讓公務員帶頭站立向國旗致敬,以作為人民的榜樣,並於1976年12月27日頒佈了升國旗相關的條例,之後還發布在了皇家公報上,因此在每天兩次致敬國旗的時候泰國國家廣播電臺都會報時。

中泰雙語|泰國國旗的發展歷史

ธงชาติไม่ได้แค่เป็นตัวแทนของชาติเท่านั้น แต่การเกิดขึ้นของธงชาติยังมาพร้อมกับการสร้างชาติ และการปลุกกระแสชาตินิยมให้เกิดขึ้น เช่น การปักธงชาติหรือการเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาในสถานที่ราชการ โดยเฉพาะโรงเรียนในการศึกษาภาคบังคับ มีความหมายถึง การแสดงอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นๆ โดยมติคณะรัฐมนตรี พฤษภาคม 2546 สมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร กำหนดให้ สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจประดับธงชาติตลอด 24 ชั่วโมง

國旗不僅是國家的代表,它的產生也伴隨著國家的建立和民族主義的覺醒。比如,在國家機關升國旗,特別是在義務教育學校升國旗,因為這意味著宣示在該土地上的主權。2003年5月他信執政時期,根據內閣提議規定國家機關和國營企業應保持國旗24小時不降。

[M1]ซบเซา 停滯的、不景氣的

[M2]รื้อฟื้น 恢復、復興

宣告:文章轉載自億點點泰語,轉載請聯絡原作者。中文翻譯如有錯漏,敬請留言指正。

TAG: 國旗白象三色旗暹羅泰國